|
|
มุมมองข้อมูลฉบับวารสาร
|
|
|
ปีที่ 34, ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม), เลขที่ฉบับ 131, ปี 2555
|
|
รหัสผู้ใช้งาน |
|
|
3.
|
การวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน ของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯกับฮ่องกงและสิงคโปร์
ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
การวิจัยนี้มุ่งเพิ่มศักยภาพของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯด้วยการเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และฮ่องกง โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของกรุงเทพฯกับสิงคโปร์และฮ่องกง และให้ข้อเสนอแนะแก่ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯ
ผู้ให้ข้อมูลด้วยแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้คือระดับผู้บริหารของกลุ่มผู้ให้บริการ (Service provider) จำนวน 101 ราย กลุ่มผู้รับบริการ (User) 133 ราย และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จำนวน 58 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมระดมความคิดเห็น และการสังเกตการณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนสิงหาคม 2552 เทคนิคการวิเคราะห์ที่ใช้ ได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติต่อการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ (สถิติที่ใช้คือ Levene test, F-Test, LSD, Brown-Forsythe, Dunnett T3, Independent t-test ตามแต่กรณี) (3) เทคนิคการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและระดับการปฏิบัติงาน (Importance Performance Analysis: IPA) และ (4) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
จากการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ พบว่า กรุงเทพฯมีสมรรถนะที่ด้อยกว่าสิงคโปร์และฮ่องกง และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อเพิ่มศักยภาพ เรียงตามลำดับความสำคัญเป็นดังนี้ 1.เสถียรภาพทางการเมืองและนโยบาย 2. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในธุรกิจฯ 3.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.การเดินทางถึงสถานที่พัก/สถานที่ประชุม (รวมถึงการเดินทางทางอากาศเข้าสู่เมืองที่จัดงาน) 5. สุขอนามัย 6.คุณภาพและความเพียงพอของบริการอินเตอร์เน็ต 7.การสนับสนุนจากภาครัฐ 8.การเดินทางภายในเมือง (ความหลากหลาย ความสะดวก ความหนาแน่นของการจราจร) 9.ความสามารถของผู้จัดการประชุมมืออาชีพ 10.ความสามารถของผู้จัดนิทรรศการมืออาชีพ 11.ความพร้อมของสถานที่แสดงนิทรรศการ(ขนาดพื้นที่และการจัดการ) 12.ความพร้อมของสถานที่จัดประชุม (ขนาดพื้นที่และการจัดการ) 13. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ 14.การสนับสนุนจากภาคเอกชน 15.การตรวจคนเข้าเมือง (ความสะดวก ความรวดเร็ว และการจัดการแก้ไขปัญหา) 16.ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและนิทรรศการ และผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพตามแต่ละปัจจัย เช่น
- ปรับปรุงการทำงานของ ปปช. และ สสปน. ให้มีนโยบายและงบประมาณที่มั่นคง
- ปรับปรุงระบบการศึกษา เน้นการปฏิบัติจริง
- เร่งสร้างระบบคมนาคมที่เกี่ยวข้อง
ซ่อนบทคัดย่อ
|
ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม (2555). การวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน ของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯกับฮ่องกงและสิงคโปร์. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 131, 51 - 88.
Supakorn Limkhunthammo (2012). IPA of Business Potential in Bangkok?s International Convention and Exhibition Business compared with Singapore and Hong Kong.. Chulalongkorn Business Review, 131, 51 - 88.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
51 - 88
|
|
|
5.
|
นโยบายการจ่ายเงินปันผลกับความไม่แน่นอนของกระแสเงินสด (Cash flow uncertainty) และลักษณะโครงสร้างผู้ถือหุ้น (Ownership structure)
ศุภลักษณ์ อังคสุโข, ผาติกา ตันวิเชียร, ตระการตา สงวนศักดิ์โยธิน และ ปิยภัสร ธาระวานิช
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่กำหนดโอกาสและอัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยรวบรวมตัวแปรจากทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎีการส่งสัญญาณ (Signaling theory), ทฤษฎีตัวแทน (Agency theory), ทฤษฎีอายุของกิจการ (Life-cycle theory), ทฤษฎีต้นทุนการทำธุรกรรม (Transaction cost theory) และ ทฤษฎีโอกาสในการเติบโต (Growth opportunity theory) โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับสองปัจจัย คือ ความไม่แน่นอนของกระแสเงินสด และ ลักษณะโครงสร้างผู้ถือหุ้น อันได้แก่ สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย, สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และ สัดส่วนการถือหุ้นโดยต่างชาติ การศึกษาใช้เทคนิค Probit model, Tobit model และ Random effects model ในการศึกษาข้อมูลบริษัทจดทะเบียนจำนวนกว่า 330 บริษัท ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2545 ถึง 2552
ผลการศึกษาพบว่า ความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดมีผลกระทบต่อการตัดสินใจจ่ายเงินปันผลเท่านั้น แต่กลับไม่มีผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผล โดยบริษัทที่มีกระแสเงินสดไม่แน่นอนจะมีโอกาสจ่ายเงินปันผลน้อยกว่าบริษัทที่มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอ ส่วนด้านโครงสร้างผู้ถือหุ้น ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นต่างชาติเป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการจ่ายเงินปันผล กล่าวคือ บริษัทที่มีการถือหุ้นโดยต่างชาติสูง บริษัทก็มีโอกาสจ่ายเงินปันผลสูงเช่นกัน แต่สัดส่วนการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นต่างชาตินี้กลับไม่มีผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผล ในขณะที่ สัดส่วนการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยกลับเป็นปัจจัยที่ลดทั้งโอกาสการจ่ายเงินปันผลและอัตราการจ่ายเงินปันผล ส่วนสัดส่วนการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีผลต่อทั้งโอกาสและอัตราการจ่ายเงินปันผล
ผลการศึกษายังพบอีกว่า อายุของกิจการ และ สภาพคล่องในการซื้อขาย เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลหรือไม่ โดยบริษัทที่มีอายุกิจการมากขึ้นจะมีโอกาสจ่ายเงินปันผลมากขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎีอายุของกิจการ ในขณะที่บริษัทที่หุ้นของตนเองมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูงจะมีโอกาสจ่ายเงินปันผลน้อยลง สอดคล้องกับทฤษฎีต้นทุนการทำธุรกรรม อย่างไรก็ดี ในด้านปัจจัยที่กำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลพบว่า มีเพียงสภาพคล่องในการซื้อขายเท่านั้นที่มีผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผล โดยบริษัทที่หุ้นของตนเองมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูงจะจ่ายเงินปันผลในอัตราที่ลดลง สอดคล้องกับทฤษฎีต้นทุนการทำธุรกรรม
ซ่อนบทคัดย่อ
|
ศุภลักษณ์ อังคสุโข, ผาติกา ตันวิเชียร, ตระการตา สงวนศักดิ์โยธิน และ ปิยภัสร ธาระวานิช (2555). นโยบายการจ่ายเงินปันผลกับความไม่แน่นอนของกระแสเงินสด (Cash flow uncertainty) และลักษณะโครงสร้างผู้ถือหุ้น (Ownership structure). จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 131, 107 - 144.
Supalak Angkasukho, Patika Tonvichien, Trakarnta Sanguansakdiyodhin and Piyapas Tharavanij (2012). Dividend policy, Cash-flow uncertainty, and Ownership structure: Evidence from Thai listed companies. Chulalongkorn Business Review, 131, 107 - 144.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
107 - 144
|
|
|
|